็HRD-MAX MAXIMIZE YOUR POTENTIAL เรามุ่งมั่นยกระดับศักยภาพของท่าน
การสร้างความผูกพันต่อองค์กรด้วย OKRs
โดย ดร.อำนาจ วัดจินดา
วิทยากรที่ปรึกษา HROD
Line ID: amvat2
การสร้างความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร(Employee Engagement) โดยใช้หลักทฤษฎี Brain Based ของ Dr.David Rock ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน Neuro Leadership Institute ซึ่งมีการวิจัยกว่า 12 ปี พบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้นำ หรือองค์กรสามารถสร้างความผูกพัน (Engagement) ในทางสมอง ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเชิงบวก หรือเรียกว่าการสร้าง Toward นั้น ต้องใช้ปัจจัย 5 ประการ เรียกว่า SCARF ซึ่งประกอบด้วย
Status หรือการให้สถานะความสำคัญ Certainty หรือการสร้างความชัดเจนแน่นอน Autonomy หรือการให้อิสระในสิ่งที่มอบหมาย Relatedness การสร้างความสัมพันธ์แบบทีมงาน และ Fairness หรือการให้ความเป็นเป็นธรรม ซึ่งเมื่อนำเครื่องมือ OKR มาวิเคราะห์คุณลักษณะที่สำคัญเทียบกับปัจจัยทั้ง 5 หรือ SCARF จะพบได้ว่ามีความสอดคล้อง ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
การใช้เครื่องมือ OKRs ในการบริหารองค์กร หน่วยงาน ทีมงาน หรือบุคคล เน้นการให้โอกาสบุคลากรได้คิดสร้างสรรค์ OKRs ของตนเอง มากกว่าการสั่งการ หรือกำหนดเป็น KPI มาให้จากองค์กร(Top Down) ซึ่งส่งผลให้พนักงานรู้สึกถึงการเป็นบุคคลที่มีสถานะสำคัญขององค์กรที่สามารถเสนอความคิดเห็นแบบ Bottom up ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรในทางสมองในส่วนที่เรียกว่าการสร้าง Status หรือสถานภาพ อีกทั้งเครื่องมือ OKRs จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการกำหนดทั้ง Objective เป้าประสงค์ที่องค์กรต้องการไปให้ถึง และยังต้องมี Key Results หรือวิธีการทำให้ Objective บรรลุโดยต้องวัดผลสำเร็จได้ในเชิงปริมาณ หรือมีค่าตัวเลขที่ชัดเจน ซึ่งทำให้บุคลากรเกิดความมั่นใจว่าต้องเดินไปทิศทางใด และวัดความสำเร็จอย่างไร ซึ่งเป็นการสร้างความผูกพันในด้านของ Certainty หรือความชัดเจนเครื่องมือ OKRs มีลักษะสำคัญคือการให้หน่วยงาน หรือบุคคล ได้ขับเคลื่อน OKRs ด้วยวิธีของตนเอง แต่ก็มีข้อแม้อยู่บ้างว่าจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความผูกพันในด้าน Autonomy หรือความมีอิสระ อีกทั้งในระหว่างการขับเคลื่อน OKRs นั้นยังมีการประชุมพูดคุย ติดตามความคืบหน้าทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน โดยมีการพูดคุยทบทวน ถอดบทเรียน ให้โอกาสทุกคนในทีมได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยน และช่วยเหลือกัน ซึ่งเป็นการสร้างให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ถือได้ว่าเป็นการสร้างความผูกพันทางสมองในส่วนของ Relatedness คือการสร้างความสัมพันธ์ และที่สำคัญประการสุดท้ายคือความโปร่งใสในการทำงาน โดยเฉพาะลักษณะเด่นของ OKRs คือต้องมีการเผยแพร่ให้ทุกคนในองค์กรทราบถึง OKRs ของหน่วยงาน หรือบุคคลต่างๆ ในองค์กร เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรม สามารถตรวจสอบความยากง่าย และหากโยงไปสู่การประเมินผลก็มีความโปร่งใส ซึ่งถือเป็นการสร้างให้สมองเกิดความผูกพันในด้านของ Fairness หรือความเป็นธรรม
สรุปได้ว่า OKRs เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร(Organization Development Tool) ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร (Employee Engagement) ในทางสมอง (Brain Based) ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และความรู้สึกรักและอยากที่จะร่วมงานกับองค์กรในระยะยาวต่อไป